โรคไข้หวัดใหญ่ คืออะไร

โรคไข้หวัดใหญ่ คือโรคที่เกิดขึ้นมาจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ โดยที่อาการที่จะเกิดขึ้นจะประกอบไปด้วย ไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก คัดจมูก ที่จะส่งผลให้ร่างกายมีอาการอ่อนเพลีย ครั่นเนื้อครั่นตัว ที่จะทำให้ร่างกายเกิดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย โดยที่แต่ละปีจะมีจำนวนผู้ติดเชื้อจากทั่วโลกดด้วยไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนมาก ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัน โดยส่วนใหญ่แล้ว เรามักจะพบจำนวนคนเป็นไข้หวัดใหญ่มากที่สุดในช่วงฤดูฝน และรองลองมาก็คือในช่วงฤดูหนาว

โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดขึ้นมาจากอะไร

สำหรับ โรคไข้หวัดใหญ่ นั้น ถือเป็นโรคไวรัสชนิดหนึ่ง ที่ความจริงแล้ว มันสามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงเวลา แต่แค่ช่วงเวลาที่จะพบได้มากที่สุดนั้นจะเป็น ฤดูฝน กับฤดูหนาว เนื่องมาจากช่วงดังกล่าวจะมีอากาศที่เย็น ไม่ว่าจะมาจากอากาศที่เกิดขึ้น หรือละอองฝน ที่โดน โดยที่สาเหตุของการเกิด โรคไข้หวัดใหญ่ จริง ๆ แล้ว เกิดขึ้นมาจาก

ผู้ป่วยไอ หรือจาม : สำหรับสาเหตุดังกล่าวจะเกิดขึ้นมาจาก ละอองฝอยขนาดเล็ก ของน้ำลาย และรวมถึงน้ำมูก ที่จะล่องลอยอยู่ภายในอากาศจำนวนมาก โดยที่จะปลิวเข้าสู่ปาก หรือจมูก ของผู้คนที่อยู่ใกล้กับบริเวณดังกล่าว ที่ถ้าหากได้สูดหายใจเข้าไป ก็จะทำให้ละอองฝอยเล็ก ๆ เหล่านั้น ลงสู่ปอดได้นั่นเอง

สัมผัสถูกกับน้ำลาย หรือน้ำมูก ของผู้ป่วย : สำหรับการสัมผัสโดยตรงนั้น ถือว่ามีผลเป็นอย่างมาก ที่จะทำให้ผู้ที่สัมผัสเชื้อมีอาการติดต่อโดยตรง ไม่ว่าจะเป็น ลูกบิดประตู ราวบันได โต๊ะ เสื้อผ้า ซึ่งถ้าหากใครที่ไปสัมผัสกับจุดดังกล่าวแล้วไม่ได้ล้างมือให้สะอาด แล้วนำเอามือมาสัมผัสบริเวณจมูก และปาก ก็จะทำให้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้นั่นเอง

อาการของโรคไข้หวัดใหญ่

สำหรับอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ ที่มักจะเกิดขึ้นสำหรับผู้ป่วยโดยทั่วไปนั้น มักจะมีดังนี้

  • มีไข้
  • ไอ
  • เจ็บคอ
  • ครั่นเนื้อ ครั่นตัว
  • อ่อนเพลีย
  • ปวดศีรษะ
  • หนาวสั่น
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย

หากเป็นไข้หวัดใหญ่ ควรไปพบแพทย์ตอนไหน

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่นั้น ส่วนมากจะสามารถรักษาอาการ และพักฟื้นรักษาตัวได้ที่บ้าน โดยที่ปัจจัยในการพักฟื้นด้วยตัวเองอาจจะเกิดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ขึ้นมาได้ ซึ่งถ้าหากมีอาการแทรกซ้อนที่ส่งผลให้มีอาการที่รุนแรงขึ้น ควรต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที ซึ่งแพทย์อาจจะให้เข้ารับการรักษาด้วยวิธีการใช้ยาต้านไวรัส ที่จะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้เร็วขึ้น และสามารถป้องกันอาการต่าง ๆ ไม่ให้มีอาการที่ทรุดหนักไปกว่าเดิม